ทุกวันนี้ตลาดเกมส์คอนโซลกลับมาคึกคักอีกครั้ง หลังจากที่ยุคก่อน นักวิเคราะห์มากมายวิเคราะห์ว่าเกมส์คอนโซลจะค่อยหายไปตามการเวลา เนื่องจากเกมส์สมาร์โฟนเริ่มเติบโตขึ้นเรื่อยๆ อย่างไรก็ดีที่เมื่อมาถึงยุคของ PS4, Xbox One เกมส์คอนโซลก็เริ่มกลับมาขายดีอีกครั้ง
แต่ถ้าใครได้เล่นเกมส์คอนโซลมาหลายๆ ยุคจะสามารถสังเกตราคาได้ว่าเกมส์แผ่น ๆ นึงจะตกอยู่ที่ราคา $60 เหรียญ สหรัฐทั้งสิ้น ไม่ว่าจะยุค PS2, PS3 หรือ PS4 เกมส์แผ่นแท้จะอยู่ที่ราคา $60 เหรียญสหรัฐทั้งนั้น (ไม่นับในประเทศไทยก่อนที่จะมีตัวแทนจำหน่ายนะ) สำหรับในไทยเรา ผมต้องขออิงจากตัวแทนจำหน่ายจริงๆ ซึ่งหากเกมส์ที่มีตัวแทนจำหน่ายในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ เกมส์หนึ่งแผ่นจะมีราคาอยู่ที่ 1,890 บาท แต่ทำไมต้องราคา $60 เหรียญสหรัฐ หรือ 1,890 บาท ใครเป็นคนตั้งราคา, จริงๆ แล้วนักพัฒนาได้กำไรเท่าไร่ ต่อเกมส์หนึ่งแผ่น และ ทำไมร้านเกมส์ต่างๆ จึงไม่สามารถขายเกมส์ที่ราคาถูกได้กว่านี้ วันนี้ผมมีบทความพิเศษมานำเสนอ จากการรวบรวมข้อมูล ผมจะมาตอบคำถามเมื่อสักครู่นี้ และอธิบายให้ฟังกันครับ พร้อมแล้วมาเริ่มกันเลย
ก่อนอื่นเราต้องมาแยกแยะกันก่อนนะครับว่า Publisher และ Developer คือใคร ต่างกันอย่างไร
เริ่มด้วย Publishers หรือ “ผู้เผยแพร่” มีหน้าที่ในการทำตลาดให้กับเกมส์ในสังกัด, ลงทุนให้กับ Developer ในการสร้างเกมส์, ผลิตเกมส์ ผลิตคู่มือ และจัดจำหน่ายเกมส์ไปยังตัวแทนจำหน่ายทั่วโลก
Developer หรือ นักพัฒนา เป็นผู้พัฒนาและออกแบบเกมส์ทั้งหมด จะไม่มานั่งปวดหัวกับการทำตลาด หรือการผลิต และการส่งเกมส์ไปขาย จะโฟกัสอยู่ที่การพัฒนาเกมส์เท่านั้น
ยกตัวอย่างเช่น Sony คือ Publisher และมีค่าย Naughty Dog เป็น Developer ในสังกัด หรือ บางริษัทจะเป็นทั้ง Developer และ Publisher ในตัว เช่น Ubisoft ซึ่งพัฒนาและทำตลาดเกมส์เอง
Publishers และ Developer ที่ทำอยู่ในสังกัด ทำงานร่วมกันตามหน้าที่ ที่ผมได้อธิบายไปด้านบนเพื่อให้แน่ใจว่าเกมส์ที่ Developer พัฒนาขึ้นมา ทาง Publisher จะทำตลาดให้ไปถึงมือเกมเมอร์ให้ได้มากที่สุดครับ เพราะฉะนั้นกำไรที่ขายได้ต่อเกมส์ หนึ่งแผ่นนั้น Publisher จะได้จากส่วนแบ่งจากราคาเกมส์ ก่อนที่ Developer จะได้ส่วนแบ่งจาก Publisher อีกทีครับ
ทำไมเกมส์ต้องราคา $60 เหรีนญ หรือ 1,890 บาท?
ง่ายมากครับ เพราะเกมส์มันมีส่วนแบ่งกันหลายส่วนมากๆ เพราะไม่ใช่แค่ Publishers และ Developer ที่ต้องทำกำไร และทำตลาดให้กับเกมสฺ์แล้ว ร้านเกมส์ (Retailer) หรือตัวแทนจำหน่าย (Distrubutor) ก็ต้องทำกำไร เหมือนกัน ในการที่จะอยู่รอดในตลาด รวมถึง Platform Holder หรือผู้ที่ผลิตเครื่องเกมส์ให้เราเล่นกันอย่าง โซนี่ ,ไมโครซอฟท์ และ นินเทนโด ก็ต้องได้ส่วนแบ่งนี้เช่นกัน (ขายแต่เครื่องคงไม่พอ) และเพื่อจะแบ่งเงินออกมาเป็นอัตราส่วนที่ยุติธรรมที่สุดคือราคาเกมส์ต้องเป็น $60 เหรียญครับ ซึ่ง $60 เหรียญ จะถูกแบ่งออกเป็นแบบนี้ครับ
- Publisher จะได้ 27 เหรียญ จากเกมส์ 1 แผ่นคิดเป็น 45% ของราคาเกมส์
- Retailer หรือ ร้านที่ขายเกมส์ จะได้ 15 เหรียญ จากเกมส์ 1 แผ่นคิดเป็น 25% ของราคาเกมส์
- Manufacturing หรือ ค่าผลิตเกมส์ จะได้ 7 เหรียญ จากเกมส์ 1 แผ่นคิดเป็น 12% ของราคาเกมส์
- Platform Holder หรือผู้ที่ผลิตเครื่องเกมส์ จะได้ 7 เหรียญ จากเกมส์ 1 แผ่นคิดเป็น 12% ของราคาเกมส์
- Distribution หรือ ค่าขนส่ง และจัดจำหน่าย จะได้ 4 เหรียญ จากเกมส์ 1 แผ่นคิดเป็น 6% ของราคาเกมส์
*อย่าลืมนะว่า Publisher ต้องไปแบ่งกับ Developer กันอีกทอดนะครับ
*ไม่นับ Digital Download นะ เพราะจะมีส่วนแบ่งอีกอย่างหนึ่งครับ
แล้วทำไม ร้านเกมส์ ต่างๆ จึงไม่สามารถลดราคาแผ่นเกมส์ลงมาอีกได้?
คำถามนี้ตอบในมุมมองของสหรัฐเขานะครับ คือตามกฏหมายแล้ว ทางร้านเกมส์ไม่มีสิทธิ์ลดราคาเกมส์ลงได้ ถ้าไม่ได้รับอนุญาตจากทาง Publisher หรือ Platform Holder เพราะไม่อย่างนั้น เกมเมอร์จะเห็นว่า เฮ้ยร้านนี้ขายถูกกว่าอะไรประมาณนี้ แต่อย่างในบ้านเราจะสังเกตได้ว่า เกมส์ที่มีตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทาการ จะมีราคาเท่ากันทุกร้าน ที่เป็น Dealer กับตัวแทนจำหน่ายครับ
*แต่ถ้าแผ่นมือสองทางร้านเกมส์ได้กำไรเต็มๆ นาจา
แล้ว 27 เหรียญที่ Publisher ได้เนี่ยแบ่งออกมาเป็นอะไรได้บ้าง?
มันคือค่าพัฒนาเกมส์ และการทำตลาดของเกมส์นี่แหละครับ ซึ่งการพัฒนาเกมส์แต่ละเกมส์จะแบ่งต้นทุนออกมาได้เป็นดังนี้
- นักพัฒนาเกมส์ – โดยส่วนใหญ่แล้ว นักพัฒนาเกมส์จะมีรายได้ 83,000 ต่อปี หรือประมาณ 2,988,000 บาทต่อปี ต่อคน ครับ ลองคิดดูครับถ้าในค่ายนั้น มีพัฒนาเกมส์กำลัง พัฒนาเกมส์ AAA อยู่ 200 คน ใช้ในการพัฒนาเกมส์ 2 ปี ค่าใช้จ่ายเบิกบานเลยจ้าา
- ฮาร์ตแวร์ อุปกรณ์ที่ใช้พัฒนา – ส่วนนี้ก็มีค่าใช้จ่ายไม่น้อยเลย นอกจากต้องมีคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพแล้ว ยังต้องมีเครื่องเกมส์ที่เป็นชุดพัฒนาเพื่อทดสอบเกมส์ ยังไม่รวมค่า License ซอฟท์แวร์อื่นๆ อีกด้วย
- ออฟฟิต – ที่ขาดไม่ได้คือสถานที่พัฒนาเกมส์ ที่ต้องมีแหล่งอำนวยความสะดวกให้กับนักพัฒนาเกมส์ ได้ทำงาน และคลายเครียด จากการสร้างเกมส์ด้วย เพราะแต่ละเกมส์ไม่ได้สร้างกันง่ายๆ
- การตลาด – การตลาดคือส่วนที่มีค่าใช้จ่ายมากที่สุดเลยก็ว่าได้ครับ ซึ่งอาจจะเท่ากับค่าพัฒนาเกมส์เลยด้วยซ้ำ ตัวอย่างเช่น Horizon: Zero Dawn มีค่าพัฒนาอยู่ 47 ล้านเหรียญ แต่มีค่าการตลาดอยู่ที่ 25 ล้านเหรีญเลยทีเดียวครับ
เป็นอย่างไรกันบ้างครับ รู้แบบนี้แล้วเกมส์ 1 แผ่นที่เราซื้อไป มันมีส่วนแบ่งกันไปหลากหลายมากๆ ครับ เมื่อได้มารู้แบบนี้แล้ว เกมส์แท้หนึ่งแผ่นมันมีคุณค่าแก่ Publisher และ นักพัฒนามากๆ ครับ ก็ไม่ว่าจะเป็นตลาดเกมส์คอนโซล หรือ พีซี แนะนำให้ซื้อแผ่นแท้ เพื่อเราจะได้เล่นเกมส์ดีๆ ต่อไปครับ
ขอบคุณข้อมูลจาก The Know ครับ
บทความพิเศษโดย Play4Thai