กลายมาเป็นประเด็นร้อนในหมู่เกมเมอร์ชาวไทยกันทั่วหน้า หลังเมื่อวันที่ 10 ตุลาคมเป็นต้นไปทางโซนี่ อินเตอร์แอคทีฟ เอนเตอร์เทนเมนต์ สิงคโปร์ (SIES) ได้มีการอัปเดตบริการ PlayStation Store ของประเทศไทยในการเก็บภาษีบริการดิจิทัลหรือ Digital VAT เพิ่มอีก 7% ภายใต้ระเบียบใหม่ของประเทศไทย ทำให้ราคาสินค้าบน PlayStation Store ประเทศไทยบางรายการจะถูกเรียกเก็บภาษีนี้เพิ่มเติทมรายการละ 7% ส่งผลกระทบให้ราคาเกมสูงขึ้น ยกตัวอย่างเช่นเกม Far Cry 6 จากเดิมวางขายในรูปแบบดิจิทัล 1,790 บาทเท่ากับรูปแบบแผ่น ถูกบวกภาษีดิจิทัลขึ้นทำให้ราคาเกมรูปแบบดิจิทัลกลายเป็น 1,915 บาท แต่ไม่ใช่ทุกเกม/สินค้าถูกเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มนี้ยกตัวอย่างเช่นเกมเอ็กซ์คลูซีฟอย่าง Horizon Forbidden West ยังคงวางจำหน่ายในราคา 2,290 บาทเท่าเดิม แล้วเพราะอะไรล่ะ? วันนี้ผู้เขียนจะนำทุกท่านมาทำความรู้จักกับภาษี E-Services คืออะไร แล้วส่งผลกระทบอย่างไรต่ออุตสาหกรรมเกมบ้านเรา
E-Services คืออะไร
มีการประกาศจากภาครัฐนับตั้งแต่เดือนกันยายน พ.ศ 2564 เป็นต้นไปจะมีระบียบข้อบังคับใหม่ในการเรียกเก็บจากผู้ให้บริการ e-service ในต่างประเทศ โดยมีกำหนดให้ผู้ให้บริการดิจิทัลในต่างประเทศลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% (ภาษีมูลค่าเพิ่ม) จากการให้บริการดิจิทัลในประเทศไทย ภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับ e-services จะถูกเรียกเก็บและเก็บจากผู้ประกอบการต่างประเทศที่ได้รับเงินขั้นต่ำ 1.8 ล้านบาทต่อปีจากการขายบริการในประเทศไทย และจะส่งกรัทบต่อบริการและบริษัทอาทิ:
- กลุ่ม E-Commerce เช่น eBay, Alibaba และ Amazon
- กลุ่มสื่อและโฆษณา เช่น Google, Facebook และ Line
- กลุ่มบริการ เช่น Marketing และ Evernote
- กลุ่มขนส่ง เช่น สายการบิน
- กลุ่มการเดินทางและการท่องเที่ยว เช่น การจองและ Airbnb
- กลุ่มเนื้อหาดิจิทัล เช่น Netflix, iFlix, JOOX และ Spotify
- กลุ่มซอฟต์แวร์ เช่น Apple
- กลุ่มซอฟต์แวร์เกม เช่น สตรีม และ PlayStation Store
- กลุ่มโครงสร้าง เช่น บริการคลาวด์
- กลุ่มบริการทางการเงิน เช่น PayPal
- กลุ่มการลงทุน Forex
เหตุผลที่ต้องเรียกเก็บ E-Services กับผู้ประกอบการต่างประเทศ?
ทางภาครัฐให้เหตุผลว่าในการเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในครั้งนี้เพื่อให้ผู้ประกอบการต่างประเทศปฏิบัติต่อผู้ให้บริการดิจิทัลในท้องถิ่นอย่างยุติธรรมซึ่งต้องปฏิบัติตามกฎหมายภาษีอากรท้องถิ่นอย่างเต็มที่ และมีการกำหนดห้ามไม่ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียน ที่ให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศออกใบกำกับภาษี
เหตุใดเกมบางรายการบน PlayStation Store ไม่ถูกเรียกเก็บภาษีเพิ่มเติม?
จากที่ผู้เขียนได้ยกตัวอย่างในขั้นต้นจะเห็นได้ว่าเกมใด ๆ ที่เป็นเกมเอ็กซ์คลูซีฟของฝั่งเพลย์สเตชั่นจะไม่ถูกเรียกเก็บภาษีเพิ่ม เหตุผลเพราะเกมเอ็กซ์คลูซีฟทางฝั่งเพลย์สเชั่นถูกวางจำหน่ายภายใต้บริษัทโซนี่ ประเทศไทย ที่มีการจดทะเบียนภาษีในประเทศไทยอยู่แล้วดังนั้นราคาเกมที่อยู่ภายใต้ผู้จัดจำหน่ายอย่างโซนี่ได้มีการคิดภาษีรวมไปแล้วนั่นเอง ดังนั้นจะเห็นได้ว่าเกมจาก Ubisoft, Electronic Arts หรือ Publisher หลายอื่นที่ไม่ได้มีการจดทะเบียนบริษัทในประเทศอย่างเป็นทางการจึงถูกโซนี่ผู้เป็นเจ้าของแพลตฟอร์ม PlayStation Store จำเป็นต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากเกมหล่านี้
แล้วเกมในรูปแบบแผ่นดิสก์จะส่งผลกระทบด้วยหรือไม่?
คำตอบคือไม่ส่งผลกระทบเพราะเกมในรูปแบบแผ่นดิสก์ถูกจัดจำหน่ายผ่านตัวแทนนำเข้าและจัดจำหน่ายอย่างถูกต้องแล้ว ดังนั้นเกมในรูปแบบแผ่นดิสก์จะคงราคาเดิมและจะมีราคาถูกว่าเวอร์ชั่นดิจิทัล (แต่ก็ไม่แน่ว่าในอนาคตอาจจะถูกเรียกเก็บก็ได้)
ส่งผลกระทบอย่างไรต่ออุตสาหกรรมเกมบ้านเราอย่างไร?
ส่งผลกระทบในแง่เกมรูปแบบดิจิทัลเพราะไม่เพียงแต่ PlayStation Store ที่โดนเรียกเก็บภาษี E-Services แต่ทาง Steam ก็จะโดนด้วยเช่นกันซึ่งนับตั้งแต่ 15 ตุลาคม พ.ศ 2564 ทาง Steam ก็จะเรียกเก็บภาษี E-Services เพิ่มจากเกมต่าง ๆ อีก 7% ซึ่งแน่นอนจะทำให้ราคาเกมบน Steam สูงขึ้นเช่นกัน มันส่งผลกระทบในวงกว้างขึ้นเนื่องจากตลาดพีซีในบ้างเรายังคงครองส่วนแบ่งตลาดสูงสุด และเพราะเกมบน Steam มีผู้เผยแพร่จัดจำหน่ายมากมาย ดังนั้นเกมเกือบทั้งแพลตฟอร์มจะถูกเรียกเก็บภาษีนี้ ด้วยราคาเกมที่สูงขึ้นนี้มันสวนทางกับรายได้ของประชากรในประเทศไทยอย่างสิ้นเชิง!!
บทความโดย Play4Thai